ด่านเกวียน
The land of Ceramics.     
Amazing Thailand   Award 2537   Otop std. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอทอป
 
   
Home | History | Manufacture | Products | Person | Site map | Travel | Help | Forums
   
   
 

เกวียน

พิพิธภัณฑ์เกวียน
(CARTS COLLECTIONS)

นับเป็นแห่งแรกของประเทศไทยและของโลกก็ว่าได้ที่พิพิทธภัณฑ์ ของ อาจารย์วิโรฒ ศรีสุโร เจ้าของร้านเครื่องปั้นดินดำได้อุตสาหะ ติดตามเพื่อรวบรวมเกวียนประเภทต่างๆ ทั่วประเทศในภูมิภาคจน สมารถรวบรวมไว้ได้ในขณะนี้กว่า 50 เล่ม และจะมีโครงการใน 5 - 10 ปีข้างหน้ารวมถึง 100 เล่มเกวียนเกวียน ในสมัยก่อนชาว ชนบททุกภาคจำต้องอาศัยเกวียนในการขนส่ง การเดินทาง การ บันทึกพืชผล ในท้องถิ่นที่ทุรกันดาร แทบทุกแห่งของประเทศไทย

พิพิธภัณฑ์เกวียน

พิพิธภัณฑ์เกวียน

พิพิธภัณฑ์เกวียน

ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน

ช่างในอดีต ช่างดั้งเดิม ช่างปัจจุบัน

    แม้ว่าจะมีองค์ประกอบด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต คือ ดิน น้ำ ไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ความชื้น และสภาพอากาศที่เหมาะสม แต่สิ่งเหล่านั้นสำคัญน้อยกว่า “คนผู้เป็นช่างปั้น” ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนยังคงมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ได้ก็เพราะมีช่าง เนื้อหาในส่วนนี้กล่าวถึงช่างที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน

    ผู้ประกอบอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เป็นบุคคลที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษ ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อสนใจในงานปั้นก็จะไปเรียนกับอาจารย์ โดยขอเป็นลูกศิษย์ก่อน มีหน้าที่เตรียมดิน ผสมดิน เหยียบดิน และคอยหมุนพะมอนให้ ลูกศิษย์จะช่วยอาจารย์ทุกอย่างจนกระทั่งเผาเครื่องปั้นเรียบร้อย ต้องคอยสังเกต จดจำ และเลียนแบบอาจารย์ เมื่อมีเวลาว่างจึงจะฝึกหัดโดยมีอาจารย์คอยแนะนำ เมื่อขึ้นรูปได้ดีแล้วจึงจะแยกตัวออกไปทำต่างหาก หรือรวมกลุ่มกันทำแล้วแต่ความสมัครใจ
    นิสัยโดยทั่วไปของช่างปั้นดินเผาด่านเกวียนจะเรียบง่าย กินอยู่ง่าย ๆ โอบอ้อมอารี พูดคุยเป็นกันเอง ค่อนข้างตลก มีลูกเล่น ทำอะไรก็มักจะจริงจัง เช่น บางคนชอบไก่จนไม่สนใจครอบครัวเลยก็มี บางคนชอบเพลงโคราช บางคนชอบดื่ม ฯลฯ บางคนก็ใช้เวลากับการปั้นวันหนึ่ง ๆ ได้เพียง 8 - 10 ลูกเท่านั้น เพราะเมื่อขึ้นรูปเสร็จแล้วก็สูบบุหรี่ นั่งดูเงียบ ๆ พิจารณาดูว่าเท่ากันหรือไม่ เรียบร้อยดีไหม ถ้ายังไม่ดีก็จะไปทำใหม่
    สภาพทั่วไปของสถานที่ทำงาน ดูสะอาด เป็นระเบียบ โรงเรือนมุงด้วยแฝก จาก เพื่อความร่มเย็น ภายในโรงปูด้วยทราย ค่อนข้างมืด แต่ดูศักดิ์สิทธิ์ มีพลัง บรรยากาศเงียบสงบ ทำให้ช่างมีสมาธิ ใจไม่วอกแวก สภาพเหล่านี้ช่วยเสริมให้ช่างดูเป็นคนน่านับถือมากทีเดียว
    ภาวะความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบัน ทำให้ช่างเปลี่ยนไป ช่างได้งานที่แปลก จิตใจก็เปลี่ยนไป ช่างที่มีฝีมือเริ่มถูกดึงเข้ากลุ่มนายทุน ใครให้ราคาดี ช่างก็ต้องรับและแข่งขันกัน ช่างได้สัมผัสกับผู้คนหลายรูปแบบ จากชาวบ้านด้วยกันมาสู่ผู้คนหลายอาชีพ เช่น พ่อค้า นายทุน ข้าราชการ คนในเมือง ฯลฯ จากการผลิตงานเพียงชิ้นสองชิ้น มาเป็นหลาย ๆ ชิ้น หลาย ๆ ขนาด หลาย ๆ รูปแบบ สิ่งเหล่านี้ทำให้ช่างต้องพัฒนาเทคนิค ต้องคิดในเรื่องเครื่องทุ่นแรง เมื่อช่างถูกเร่งให้ผลิตอย่างรีบร้อนคุณภาพก็ไม่ดี พ่อค้าบางคนคิดง่าย ๆ ว่าเอาดินมาปั้นแล้วเผาก็ใช้ได้ ลืมนึกถึงความจริงว่าขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอนมีความละเอียดอ่อน และใช้เวลานานพอสมควร เช่น จะต้องขนดินมาตากให้แห้ง รดน้ำ เอามาผสมกัน นวด กว่าจะได้ปั้น แกะลวดลายได้ ผึ่งแล้วเผา ต้องใช้เวลาถึง 3-4 อาทิตย์ การเผาต้องใช้เวลาเผา 2-3 คืน จึงจะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เมื่อพ่อค้ามาสั่ง ช่างก็อยากได้มาก พ่อค้าเร่งช่างก็เร่งเลยลดขั้นตอนการผลิต แทนที่จะนวด 3 ครั้ง ก็นวด 2 ครั้ง ปัญหาการเผาจึงมีเปอร์เซ็นต์แตกมาก นอกจากนี้ สี ขนาด สัดส่วน ไม่เป็นไปตามสั่ง บางครั้งก็ถูกตีกลับ บางครั้งก็มีผลต่อช่างเอง คือในตอนแรก ๆ ผู้สั่งจะวางเงินก่อน ต่อมาก็ให้เงินตอนมารับของ ต่อมารับของไปก่อนแล้วจึงจ่ายเงินภายหลัง ทำให้มีปัญหาเรื่องเงิน ผลตามมาก็คือทำให้ช่างบางคนต้องเลิกราไปเลย
    สรุปลักษณะของช่างสมัยใหม่ผิดไปจากเดิม มีการแข่งขันกันหลายรูปแบบ ทั้งฝีมือและรายได้ ต่างคนต่างผลิตไม่มีสมาคมช่างปั้นดินเผา ไม่มีการให้ความรู้ในเรื่องเทคนิค เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุหีบห่อ ฯลฯ และขาดการส่งเสริมจากภาครัฐบาลอย่างจริงจัง

    แม้ว่าภาวการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม แต่ความเป็นช่างนั้น ก็ยังเป็นที่น่าสนใจศึกษาอยู่มากทีเดียว เพราะช่างเป็นผู้ผลิต ผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม น่าจะได้มีการสำรวจ บันทึกเพื่อการพัฒนา ส่งเสริม เป็นเกียรติ เป็นประวัติของบ้านเมืองต่อไป

วัวมันเดินกระเหย่งย่องมา
บรรทุกเต็มบ่ามีดินเต็มเกวียน
เกวียนมันเดินลดเลี้ยวเคี้ยวโค้ง
หลังมันโกงซํ้าวันซํ้าเดิน
เดินไปไกลไปหาดินดิบ
หยิ๊ิบเอามาปั้นเป็นหม้อต้มแกง
เอ๊ย... ปั้นหม้อต้มแกง เอ๊ย เฮ้อ เอ่อ เหอะ เอย

ขึ้นหม้อดินเอาไว้หุงข้าว
(ไหเปล่าๆ ใส่นํ้าตาลเมา)
ขึ้นเป็นครก ใส่โขลกปลาร้า
(โอ่งธรรมดา ใส่นํ้าท่าอาบกิน)
เอาดินแห้งแล้ง แปลงเป็นหม้อไห
(ฝีมือไทยๆ ที่โคราชบ้านเอ็ง)
เอ๊ย... โคราชบ้านเอ็ง เอ๊ย เฮ้อ เอ่อ เหอะ เอย

ความเจริญหลั่งไหล กันเข้ามา
มันเป็นสินค้ามีเงินเต็มมือ
มือเอ็งทํา กำแต่ดินเต็มมือ
เต็มสองมือช่างปั้นด่านเกวียน
ที่เก็บอีหลีจ้างกินก็บ่ได้
ปั้นวัวควายกินได้ซะก็ดี
เอ๊ย แบบไหน เอ๊ย เอ๊ย แบบไหน เอ๊ย เอ๊ย
เอ๊ย เฮ้อ เอ่อ เหอะ เอย...

ขอขอบคุณบทเพลงนี้ ไว้ ณ ที่นี้ ครับผม

เพลง : ด่านเกวียน
่ศิลปิน: คาราบาว
อัลบั้ม: แป๊ะขายขวด

 

Modeler
(ลุงแดง สากเหมิ่ง)
ลุงแดง คนด่านเกวียน

ช่างปั้นยุคปัจจุบัน
ช่างปั้นรุ่นเก่า

ช่างปั้นรุ่นเก่า

ช่างปั้นยุคปัจจุบัน
 
   
 

Cast Stone Garden

The Dan Kwian products become one of the major export goods from Korat, Thailand.
copyright © 1999 - 2021 DanKwian.com : The Land of Ceramics.