ด่านเกวียน
The land of Ceramics.     
Amazing Thailand   Award 2537   Otop std. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โอทอป
 
   
Home | History | Manufacture | Products | Person | Site map | Travel | Help | Forums
   
   
 

ประวัติ ด่านเกวียน - History

The Land of Ceramics

  เครื่องปั้นดินเผา

บทนำ

สังคมไทย เป็นสังคมเกษตรเพื่อยังชีพมาแต่ครั้งโบราณกาล นอกจากการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ไว้ใช้เป็นอาหารและไว้ใช้แรงงานแล้ว ยังมีความจำเป็นที่จะต้องผลิตสิ่งอื่นที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตไว้ใช้ในครอบครัวด้วย ดังนั้น เวลาที่ว่างจากงานด้านเกษตรกร จึงเป็นเวลาที่ใช้ทำงานด้านหัตถกรรมแล้ว ยังนำส่วนที่มากกว่าความต้องการใช้ไปแลกเปลี่ยนสิ่งอื่นที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งครอบครัวไม่สามารถจะผลิตได้เอง เครื่องปั้นดินเผ่าด่านเกวียนก็เป็น ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าจะมีหลักฐานหลายอย่างปรากฏให้เห็นเด่นชัดว่า มีการทำเครื่องปั้นดินเผาอยู่หลายแห่งในภาคอีสานมานานแล้ว เช่นที่บ้านเชียง แต่ปัจจุบันนี้ เมื่อกล่าวถึงเครื่องปั้นดินเผาของภาคอีสาน คนไทยทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รู้จักเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนมากกว่าเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งอื่น เพราะปัจจุบันนี้ เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนได้วิวัฒนาการจากหัตถกรรมในครัวเรือน เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกนอกท้องถิ่น ดังจะเห็นวัตถุประสงค์นี้ได้อย่างชัดเจน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึง รูปแบบ กระบวนการผลิต และระบบการซื้อขายที่แพร่กระจายไปยังตลาดต่างประเทศ วิวัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้มีปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งต่าง ๆ มากมายในชุมชนบ้านด่านเกวียน นับตั้งแต่การนำวัตถุดิบขึ้นมาใช้ในการผลิต การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ระบบการทำงานของช่าง กระบวนการซื้อขายผลิตภัณฑ์ นับวันความเปลี่ยนแปลงนี้ ก็จะเคลื่อนต่อไปเรื่อย ๆ ความเป็นมาแต่ครั้งดั้งเดิมของชุมชนที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน กำลังถูกลบเลือนไปเหมือนกับช่างรุ่นใหม่ที่ก้าวเข้ามาแทนที่ช่างรุ่นเก่าที่ล้มหายตายจากหรือเปลี่ยนอาชีพไป

ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ซึ่งในครั้งโบราณมีการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วยเทคโนโลยีที่เจริญทัดเทียมกันนั้น ปัจจุบันนี้ภาคเหนือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียงอยู่หลายแห่ง แต่ในภาคอีสานมีเพียงด่านเกวียนเท่านั้นที่ยังมีชื่อเสียงทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ของภาคเหนือ ดังนั้นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จึงเป็นการศึกษาถึงวิวัฒนาการของเครื่องปั้นดินเผาของอีสานที่มีการปรับเปลี่ยนจนสามารถดำเนินอยู่ได้ในปัจจุบัน เนื้อหาของเอกสารเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สภาพทั่วไปของชุมชน กล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์กายภาพ หรือภูมิศาสตร์ธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์ต่อการผลิตเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ได้แก่ ที่ตั้งอันเหมาะสมของชุมชน ลักษณะภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะ "ดิน" ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตนอกจากนี้ยังกล่าวถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ประชากรในชุมชนด่านเกวียนอีกด้วย ตอนที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เป็นการให้ข้อมูลในการทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนตั้งแต่การผลิต การเลือกวัตถุดิบ การปั้น การตกแต่งลวดลาย การเผาและการตลาดของผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน ตอนที่ 3 ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน แม้ว่าจะมีองค์ประกอบด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต คือ ดิน น้ำ ไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง ความชื้น และสภาพอากาศที่เหมาะสม แต่สิ่งเหล่านั้นสำคัญน้อยกว่า "คนผู้เป็นช่างปั้น" ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนยังคงมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ได้ก็เพราะมีช่าง เนื้อหาในส่วนนี้กล่าวถึงช่างที่มีมาตั้งแต่ครั้งอดีต จนถึงปัจจุบัน จากเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ตั้งแต่ตอนที่ 1 - 3 จะทำให้เห็นภาพองค์ประกอบสำคัญของการทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ครบตามขบวนการอุตสาหกรรม คือแหล่งทุน วัตถุดิบ แรงงาน และการบริหารจัดการ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานของการศึกษาเรื่องเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต

ประวัติ

ด่านเกวียน เป็นหมู่บ้านหนึ่งของ ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร โดยมีทางหลวงหมายเลข 224 สายนครราชสีมาโชคชัยผ่านกลางหมู่บ้านซึ่งมีร้านค้าเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เรียงรายอยู่สองฟากฝั่งและมีลำน้ำมูลทอดขนานอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออกหมู่บ้าน ด่านเกวียนนั้นแต่เดิมพ่อค้าจากนางรอง - บรีรัมย์ - สุรินทร์ -ขุนหาญ - ขุขันธ์ เรื่อยไปจนถึงเขมรจะเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวโคราชและมักจะพักกองคาราวานเกวียนกัน เป็นประจำจนได้ชื่อ หมู่บ้านว่า" บ้านด่านเกวียน " และในขณะพัก พ่อค้าเหล่านั้นก็มักนำดินจากสองฟากฝั่งลำน้ำมูล มาทำภาชนะใช้สอยต่างๆ เช่น โอ่ง อ่าง ไหปลาร้า ฯลฯ โดยลอกเลียนแบบจากชนชาวข่าวซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อาศัยในพื้นที่แต่เก่าก่อนหลังจากนั้นเมื่อนำภาชนะเหล่านั้นกลับภูมิลำเนาของตน และด้วยคุณภาพพิเศษ ของภาชนะทั้งในด้านสีสันความคงทนต่อการใช้งาน จึงทำให้ภาชนะด่านเกวียนเป็นที่นิยมชมชอบของผู้คนจนได้รับการเผยแพร่ มากขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั่งได้รับความสนใจยิ่ง จนกลายเป็นสินค้าหนึ่งในการค้าขายกันในยุคอดีตจวบจนปัจจุบัน....ลักษณะเฉพาะของเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนนั้นอยู่ที่ดินที่นำมาใช้ กล่าวคือดินด่านเกวียนเป็นดินเหนียวเนื้อละเอียดที่ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล (ซึ่งห่างออกไปจากทางหลวง 224 ทางทิศตะวันออกประมาณ 2 - 3 กิโลเมตร)ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กุด หรือแม่น้ำด้วน(ลักษณะลำน้ำที่คดเคี้ยว กัดเซาะตะลิ่งจนขาดและเกิดลำน้ำด้วนขึ้น ส่วนที่เป็นแนวกัดเซาะจะกลายเป็นแหล่งทับทมดิน ดินดังกล่าวนี้เป็นดินซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูปทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือดินนี้เมื่อถูกเผาจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีแดงซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก (Iron Oxide) หรือสนิมเหล็กที่มีอยู่จำนวนมากในเนื้อดิน)

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Ceramics

DanKwian Pottery

   
 

Cast Stone Garden

The Dan Kwian products become one of the major export goods from Korat, Thailand.
copyright © 1999 - 2021 DanKwian.com : The Land of Ceramics.