อำเภอสูงเนิน
เมืองโคราฆปุระและเมืองเสมา
เคยเป็นเมืองหลวงของนครราชสีมาแต่ปัจจุบันกลายเป็นเมืองร้างคงเหลือไว้แต่ซากปรักหักพังของโบราณ
สถาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ
เมืองทั้งสองนี้อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 32
กิโลเมตร มีทางแยกขวา จากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา
- ปากช่อง) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 221-222 ซึ่งเป็นทางลาดยางเข้าสู่อำเภอสูงเนิน
ตรงเข้าไป 2.7 กิโลเมตร จะพบทางแยกขวามือตรงมุมวัดญาณโศภิตวนาราม
(วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางสู่เมืองโคราฆปุระภายในเมืองโคราฆปุระ
ประกอบด้วยปราสาทหินเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ และปราสาทหินเมืองเก่าดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปราสาทเมืองแขก
ตั้งอยู่ที่บ้านกกอก ต.โคราช (อยู่ภายในเมืองโคราฆปุระ)
ห่างจากปราสาทโนนกู่ไปประมาณ 600 เมตรจากนั้นจะมีทางแยกขวาเข้าปราสาทเมืองแขก
เป็นศาสนสถานแบบเขมรที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดนครราชสีมา
มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ค่อนข้างจะแตกต่างจากโบราณสถานขอมแห่งอื่น
ๆ ในเขตนี้จากลักษณะของแผนผังอาจแบ่งได้เป็น 3 ส่วน
คือ ส่วนในสุดประกอบด้วยปราสาท 3 หลังก่อด้วยหินทรายและอิฐตั้งอยู่บนฐานเดียวกันหันหน้าไปทางทิศเหนือเฉพาะองค์ปรางค์ประธานมีมุขซึ่งมีลักษณะเป็นห้องต่อออกมาทางด้านหน้าอย่างที่เรียกกันว่า
มณฑป เช่นเดียวกับปรางค์ประธานของปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้งแต่ปราสาทปรางค์แขกปรักปักพังไปมากจนแทบจะเหลือแต่เพียงฐานอาคารเท่านั้น
ทางด้านข้างของมุขปรางค์ มีฐานอาคาร 2 หลังซึ่งอาจจะเป็นวิหารหรือบรรณาลัยในส่วนแรกนี้มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบทางด้านทิศตะวันออกของกำแพงมีห้องก่อเป็นผนังอิฐขนานไปกับกำแพงส่วนที่สองเป็นกำแพงชั้นนอก
ซึ่งขุดเป็นสระเกือบจะล้อมรอบโบราณสถานใช้ดินจากการขุดสระเป็นคันกำแพงทางด้านทิศเหนือมีทางเดินเชื่อมกับส่วนที่หนึ่งกำแพงชั้นนอกด้านนี้มีโคปุระ(
ซุ้มประตู ) รูปกากบาท ตรงกับโคปุระของกำแพงชั้นในส่วนที่สามอยู่นอกกำแพงชั้นที่สองออกมาทางด้านหน้า
มีอาคารสองหลังหันหน้าเข้าหากัน ฐานก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย
ส่วนบนคงจะสร้างด้วยไม้ซึ่งไม่เหลือหลักฐานให้เห็นแล้วในปัจจุบันฐานอาคารทั้งสองหลังนี้เป็นสี่เหลี่ยมมีมุขยื่นมาทางด้านหน้ามีกำแพงล้อมรอบแต่ละหลังมีโคปุระหันหน้าเข้าหากันกองโบราณคดี
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งมาแล้ว 2 ครั้งครั้งหลังสุดในปีพ.ศ.2533
ได้พบหลักฐานสำคัญที่สามารถกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้ได้คือ
ทับหลังรูปเทวดาประดับนั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล ซึ่งมีลักษณะทางศิลปะเทียบได้กับศิลปะแบบเกาะแกร์
แปรรูปในศิลปะขอม ซึ่งอยู่ในช่วงพุทธศวรรษที่ 15 นอกจากนี้ยังพบชิ้นส่วนทับหลังอีกหลายชิ้น
รวมทั้งศิวลึงค์ ฐานศิวลึงค์ และรูปโคนนทิ อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าศาสน
สถานแห่งนี้กถูกสร้างขึ้นเพื่อประกอบศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย
ที่นับถือ พระศิวะหรือพระอิศวรเป็นใหญ่เหนือปวงเทพทั้งมวล
ปราสาทโนนกู่
ตั้งอยู่ในเขต ต.โคราช จากทางแยกวัดญาณโศภิตวนารามประมาณ
3 กิโลเมตร ทางซ้ายมือเป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่ภายในเมืองโคราฆปุระซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีวัฒนธรรมแบบเขมรโบราณ
น่าจะสร้างขึ้นร่วมกับสมัยปราสาทเมืองแขกที่อยู่ใกล้เคียงกันคือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่
15 โดยพิจารณาจากลักษณะของการก่อสร้างลักษณะทางสถาปัตยกรรมและโบราณวัตถุที่พบ
ซึ่งมีลักษณะศิลปะแบบเกาะแกร์-แปรรูปในแบบศิลปะขอม
ลักษณะของโบราณสถานเป็นปรางค์เดียวฐานสูงก่อด้วยหินทราย
สภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานสูงประมาณ 2 เมตรมีลักษณะแบบฐานปัทม์
คือ ประกอบด้วยส่วนบัวคว่ำ บัวหงาย คั่นกลางด้วยส่วนที่เรียกว่า
หน้ากระดานท้องไม้แต่มีขนาดสูงใหญ่กว่าฐานปัทม์โดยทั่วไปองค์ปรางค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกทางด้านหน้าของปรางค์ประธานมีอาคาร
2 หลังซึ่งอาจจะเป็นวิหารหรือบรรณาลัยหันหน้าเข้าหาปรางค์ประธานเป็นอาคารก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานหินทรายแต่ส่วนผนังขออาคารชำรุด
หักพังลงเกือบหมดเหลือแต่เพียงส่วนล่างและกรอบประตูซึ่งทำจากหินทรายอาคารทั้งหมดนี้ล้อมรอบด้วยกำแพงที่ก่อด้วยหินทรายและอิฐ
มีโคปุระหรือประตูซุ้ม 2 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก
แต่ก็อยู่ในสภาพที่ชำรุดถัดออกไปทางด้านนอกซุ้มประตูทางด้านหน้าคือ
ด้านทิศตะวันออกมีซากโบราณสถานลักษณะคล้ายกับเป็นซุ้มประตูอีกชั้นหนึ่ง
กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งที่ปราสาทโนนกู่ ขึ้นหลายครั้งจากการจขุดแต่ง
ได้พบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น รูปปรางค์จำลอง เทวรูปหรือรูปทวารบาล
เป็นต้น ปัจจุบันได้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ปราสาทหินเมืองเก่า
หรือปรางค์เมืองเก่าตั้งอยู่ในวัดปรางค์เมืองเก่าที่บ้านเมืองเก่าต.โคราชจากทางแยกวัดญาณโศภิตวนารามประมาณ
5.6 กิโลเมตรมีลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่เชื่อ ว่าเป็นอโรคยาศาลหรือสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่
7 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในช่วงระยะเวลาที่พระองค์ครองราชสมบัติที่เมืองพระนครคือประมาณพ.ศ.1724-1763
ตามที่กล่าวไว้ในจารึกปราสาทตาพรหม ประเทศกัมพูชา
อโรคยาศาลมีแผนผังประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทางด้านหน้าอาารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางมุมขวาของปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งมีโคปุระ
(ซุ้มประตูทางเข้า) อยู่ทางด้านหน้าเพียงด้านเดียว
ด้านนอกกำแพงแก้วมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม (บาราย) กรุด้วยศิลาแลง
ปัจจุบันหน่วยศิลปากรที่ 6 ได้ทำการบูรณะจนเห็นเป็นรูปร่างชัดเจนตามผัง
ถึงแมัอาคารจะไม่สมบูรณ์ แต่ยังคงสภาพดีพอสมควรจัดเป็นโบราณสถาน
ที่น่าชมอีกแห่งหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานอำเภอสูงเนินสำหรับเมืองเสมานั้นการเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางเดียวกับเมืองโคราฆปุระ
แต่อยู่เลยทางเข้าเมืองโคราฆปุระไปทางตลาดสูงเนินโดยข้ามลำตะคองและผ่านบ้านหินตั้งไปจนถึงเมืองเสมาเป็นทางลูกรังตลอด
รวมระยะทางอยู่ห่างจากตลาดสูงเนิน 4 กิโลเมตร เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณรูปไข่
กว้าง 1,400 เมตร ยาว 2,000 เมตรกำแพงเมืองเดิมสร้างด้วยศิลาแลง
กรมศิลปากรลงความเห็นว่าเป็นเมืองสมัยทวารวดี ขุดพบวัตถุโบราณมากมายในบริเวณนั้นแต่ในปัจจุบันเหลือเพียงเนินดินเป็นแนวยาวคล้ายกำแพงเท่านั้น
วัดธรรมจักรเสมาราม
ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ต.เสมา หากเดินทางจากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
2 (นครราชสีมากรุงเทพฯ) ประมาณ 30 กิโลเมตรจะมีทางแยกขวามือ
เข้าอำเภอสูงเนิน วัดนี้อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ
4 กิโลเมตร วัดธรรมจักรเสมารวมเป็นวัดราษฎร์ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างเป็นวัดมาตั้งแต่
พ.ศ. 2295 (กรมศาสนา, 2524) แต่เดิมคงจะเคยเป็นวัดหรือศาสนสถานในสมัยทวารวดี
เพราะพบศาสนวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่นอนตะแคงขวา
แกะสลักหินทรายและธรรมจักรหินทราย ศิลปะแบบทวารวดี
ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักรที่ ขุดพบที่ จังหวัดนครปฐม
ลักษณะของพระพักตร์เป็นแบบศิลปะทวารวดีมี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่
12 องค์พระพุทธรูปมีนาดความยาวเท่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน
ประมาณ 11.70 เมตร พระบาทมีขนาดยาวประมาณ1.5 เมตร
ส่วนธรรมจักรหินทรายที่ขุดพบบริเวณเบื้องหน้าพระพักตร์พระพุทธรูป
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดุมล้อประมาณ 31 เซ็นติเมตร
เป็นธรรมจักรแบบทึบ คือ แกะสลักให้เป็นรูปซี่กงล้อตอนล่างของธรรมจักร
มีสายสลักคล้ายหน้าพนัสบด ีธรรมจักรนี้คงจะสร้างขึ้นในเวลาเดียวกับพระพุทธไสยาสน์และเมืองเสมา
ซึ่งเป็นเมืองโบราณ สมัยทวารวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่
12-14
|