อำเภอพิมาย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ตั้งอยู่ที่ถนนแห่งสงกรานต์ เชิงสะพานท่าสงกรานต์
ริมแม่น้ำมูล ต.ในเมืองจากตัวจังหวัดนครราชสีมามาใช้ทางหลวงหมายเลข
2 ( นครราชสีมา - ขอนแก่น )ประมาณ 50 กิโลเมตร ถึงบ้านตลาดแค
เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางสาย 206 อีกประมาณ 10 กิโลเมตรจะพบตัวอาคารพิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือตัวพิพิธภัณฑ์เริ่มแรกเป็นบริเวณที่ทำการของหน่วยศิลปากรที่
6 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507 กรมศิลกรมศิลปากรทำการขุดแต่งบูรณะปราสาทหินพิมายจึงได้ใช้อาคารนี้เป็นสถาณที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดแต่งและเมื่อมีจำนวนมากขึ้นจึงได้เปิดจัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งโดยใช้
ชื่อว่า พิพิธภัณฑถานแห่งชาติพิมาย ย้ายไปสังกัด กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ในปี พ.ศ.2518โบราณวัตถุจัดแสดงอยู่ในอาคาร 4 หลัง
แบ่งเป็น 2 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ
2,000 - 2,500 ปี และสมัยประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น
2ช่วง คือ สมัยของศิลปะทวราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่
12 - 16ของอิทธิพลศิลปะเขมร อายุประมาณพุทธศตวรรษที่
12 - 18 ส่วนใหญ่เป็นทับหลังและส่วนประกอบต่างๆ ของโบราณสถานและโดยเฉพาะรูปสลักศิลา
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักกัมพูชาพบที่ปราสาทหินพิมายซึ่งนับว่าเป็นโบราณวัตถุชั้นเยี่ยมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.(044)
471167 อุทยานประวัติศาสตร์พิมายอยู่ห่างจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมายประมาณ
500 เมตรเป็นพุทธสถานในนิกายมหายานที่ตั้งอยู่กลางเมืองพิมาย
หรือวิมายะปุระ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งที่อยู่ทางทิศ
ตะวันตกเฉียงเหนือของอาณาจักรขอม ปรากฎชื่อเป็นหลักฐานในศิลาจารึก
พบในประเทศกำพูชา ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ( จารึกของพระเจ้าอีสานวรมันเรียก
ภีมปุระ ) และในพุทธศตวรรษที่ 18 ( ในจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่
7เรียกวิมายปุระ) สันนิษฐานว่าปราสาทหินพิมายอาจจะเริ่มสร้างขึ้นในสมัย
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะได้พบศิลาจารึกที่ปรากฎชื่อพระองค์
ระบุศักราช 1579 และ 1589 รูปแบบศิปกรรมของปราสาทส่วนใหญ่เป็นศิปะเขมรแบบบาปวนต่อนครวัดซึ่งมีอายุในราวต้นพุทธศตวรรษ17
และได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่
7 ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ( พ.ศ.1724 - 1763 ) เป็นปราสาทที่ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและสร้างขึ้นก่อนปราสาทนครวัดในประเทศกัมพูชาตัวปราสาทหินพิมายหันหน้าไปทางทิศใต้อันเป็นทิศที่ตั้งของเมืองพระมหานคร
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแห่งราชอณาจักขอม แผนผังของปราสาทหินพิมายแบ่งเป็นสัดส่วนได้
3ส่วนด้วยกันส่วนในคือลานชั้นในล้อมรอบด้วยระเบียงคต
มีปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวตั้งอยู่กลางลานองค์ปรางค์มีผนังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสองหลังคา
ย่อเป็นชั้นๆ ลดหลั่นขึ้นไปเป็นทรงพุ่มด้านหน้าขององค์ปรางค์เชื่อมต่อกับห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า
( มณฑป ) ที่ส่วนประกอบต่างๆเช่น หน้าบันทับหลังเสา
ฯลฯ มีการแกะสลักงดงามที่หน้าบันและทับหลังส่วนใหญ่
สลักเป็นภาพเล่าเรื่องรามยาณะ ( รามาวตาร ) และกฤษณาวตาร
หน้าบันด้านหน้าสลักเป็นภาพศิวนาฏราช ส่วนหลังของประตูห้องชั้นในภายในห้องปรางค์
ซึ่งเป็นส่วนสำคัญสุดเป็นภาพทางคติพุทธศาสนนิกายมหายานนอกจากปรางค์
ประธานแล้วภายในลานชั้นในยังประกอบไปด้วยอาคาร 3 หลังอยู่ทางด้านหน้าของปรางค์ประธานทางมุม
ทิศตะวันตกเฉียงใต้มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลงเดิมเรียกกันว่า
" หอพราหมณ์ " เพราะเคยคุดค้นพบศิวลึงค์ขนาดย่อมอยู่
ภายใน แต่ดูจากลักษณะแผนผังแล้ว อาคารหลังนี้หน้าจะเป็นบรรณาลัย
หรือที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนา ทางด้านหน้าของบรรณาลัยมีอาคาร
ก่อด้วยหินทรายสีแดงที่เรียกกันว่า " ปรางค์หินแดง
" อาคารทั้งสองหลังนี้น่าจะสร้างขึ้นภายหลังปรางค์ประธานอาจอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่
18 ร่วมสมัยกับปรางค์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่คู่กับปรางค์หินแดงเรียกกันว่า
" ปรางค์พรหมหัต " ปรางค์องค์นี้ สร้างด้วยศิลาแลงมีส่วนประกอบเป็นหินทรายในปรางค์พรหมทัตนี้
ได้พบปฏิมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระรูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่
7 และปฏิมากรรมสตรี นั่งคุกเข่าสลักด้วยหินทรายเช่นกันจึงหน้าจะเป็นพระนางชัยราชเทวีมเหสีของพระองค์ถัดออกมาเป็นส่วนที่เรียกว่า
ลานชั้นนอกล้อมรอบด้วยกำแพงอีกชั้นหนึ่ง ลานชั้นนี้ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า
บรรณาลัย 2 หลัง ตั้งอยู่คู่กันทางด้านทิศตะวันตก
และมีสระน้ำอยู่ที่มุมทั้ง 4มุมละ 1 สระเป็นสระที่ขุดขึ้นมาภายหลังคงจะเป็นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายนอกกำแพงชั้นนอกทางด้านหน้าเป็นทางเดินเข้าสู่ปราสาท
มีสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์สลักด้วยหินทรายตั้งประดับอยู่ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ปราสาทมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
เรียกกันว่า " ธรรมศาลา " ได้พบทับหลัง
สลักภาพบุคคลทำพิธีมอบม้าแก่พราหมณ์และภาพเทวดีประทับเหนือ
หน้ากาลที่คายพวงมาลัยออกมา ทั้ง 2 ข้าง ทับหลังทั้งสองชิ้นนี้มีลักษณะศิลปะแบบที่นิยมกันในราวพุทธศตวรรษที่
17 ถัดจากกำแพงชั้นนอกของปราสาทออกไปยังมีกำแพงเมืองล้อมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
กำแพงเหล่านี้มีซุ้มประตูอยู่ทุก ด้าน มีหลักฐานว่าว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่
18 ปัจจุบันยังมีให้เห็นได้ชัดเจนทางด้าน ทิศใต้หรือด้านหน้าจากประตูเมืองด้านหน้าออกไปทางทิศใต้ที่ริมฝั่งลำน้ำเค็มมีพลับพลา
ท่าน้ำสร้างด้วยศิลาแลงร่วมสมัยกันกับกำแพงเมืองเรียกกันในปัจจุบันว่า
" ท่านางสระผม "
" กุฏิฤาษี " ตั้งอยู่ริมทางหลวงสายพิมาย
- หินดาดระหว่างประตู เมืองท่านางสระผม แผนผังและลักษณะของสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยปรางค์ประธานสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายอยู่กลางวงล้อมของกำแพงแลง
ด้านหน้าทางมุมขวาของปรางค์มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างด้วยศิลาแลง
และมีสระน้ำกรุด้วยศิลาแลงอยู่นอกกำแพง1 สระ แสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้
คือ อโรคยาศาลหรือสถานพยาบาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่
18 ระหว่างการขุดแต่งบูรณะยังได้พบ ประติมากรรมหินทรายรูป
วัชรสัตว์ หรือวัชรธร ซึ่งเป็นรูปเคารพสำคัญของพุทธศตวรรษ
ลัทธิมหายาน มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 18 ด้วย 1
องค์ นอกจากนั้นยังเคยพบศิลาจารึกระบุถึงการสร้างอโรคยาศาล
1 หลัก นอกจากเมืองพิมายเมื่อนานมาแล้ว แต่ไม่ได้ระบุว่าพบมาจากที่ใดเข้าใจว่าคงจะเป็นจารึกประจำอโรคยาศาลแห่งนี้นั่นเองกรมศิลปากรโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้ายาใจ
จิตรพงษ์ และนายแบร์นาร์ด ฟิลิป โกรซ์ลิเย่ ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสได้ร่วมกันดำเนินการบูรณะซ่อมแซมตัวปราสาทและองค์ปรางค์ประธานเป็นครั้งแรก
เมื่อ พ.ศ. 2507และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2511 ตามวิธีการแบบอนัสติโลซิส
คือ การรื้อตัวปราสาทเดิมออกและทำเครื่องหมายที่หินแต่ละก้อนไว้จากนั้นเสริมรากฐานของตัวอาคารให้มั่นคงแล้วจึงนำชิ้นส่วนต่าง
ๆ มาประกอบเข้ากันให้คงรูปแบบของเดิม และได้ทำการบูรณะอีกครั้งหนึ่งในระหว่างปี
พ.ศ.2524-2532 โดยดำเนินการบูรณะสะพานนาคราช พลับพลาทางเดิน
ระเบียงคตซุ้มโคปุระ ประตูเมืองพิมาย บรรณาลัยธรรมศาลา
ท่านางสระผม ขุดลอกสระช่องแมว และบูรณะกุฏิฤาษี เป็นต้น
ปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พิมายมีเนื้อที่ประมาณ
240 ไร่ เฉพาะเมืองพิมายมีลักษณะเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้ากว้าง
565 เมตรยาว 1,030 เมตร และทำพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
เมื่อวันที่ 12 เมษายน2532 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็น องค์ประธาน เปิดให้เข้าชมได้ทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
ไทรงาม
เป็นสถานที่พักผ่อนซึ่งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมูลในเขตอำเภอพิมาย
ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 2 กิโลเมตรและอยู่ก่อนถึงอุทยานประวัติศาสตร์พิมายประมาณ
1 กิโลเมตร บริเวณโดยรอบร่มรื่นด้วยต้นไทรที่แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมพื้นที่ประมาณ15,000
ตารางฟุต มีสระน้ำอยู่ทางด้านหน้าให้ความรู้สึกสดชื่นในขณะพักผ่อนภายในบริเวณไทรงามมีม้านั่งและร้านจำหน่ายเครื่องดื่มบริการโดยเฉพาะผัดหมี่
พิมายที่มีรสอร่อยไม้แพ้ก๋วยเตี๋ยวจันทบุรีไทรงามแห่งนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานตั้งแต่คราวสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเสด็จประพาสเมืองพิมาย
เมื่อ พ.ศ. 2454 |