อำเภอเมืองนครราชสีมา
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
ประดิษฐานอยู่หน้าประตูชุมพล สร้างขึ้นเมื่อวันที่
15 มกราคม 2476 และแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ.2477 โดยการออกแบบของอาจารย์
ศิลป พีระศรี องค์พระรูปหล่อด้วยทองแดง รมดำ ขนาดสูง
1.85 เมตร นำหนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม่สิบสอง
สูง 2.5 เมตร แต่งกายด้วยเครื่องยศ พระราชทาน มือขวากุมดาบ
ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร
ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมาเกิดเมื่อปีพ.ศ.2314
ที่บ้านตรงข้ามวัดพระนารายณ์มหาราช ปัจจุบันและถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพ.ศ.2395
รวมอายุได้ 81 ปี ท่านเกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2369 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทร์
ได้ขอครอบครัวลาวที่สระบุรี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากนครเวียงจันทร์ในคราวสงครามครั้งที่ได้พระแก้วมรกต
มาประดิษฐานไว้ ณ กรุงธนบุรีเมื่อไม่ได้ดังประสงค์ก็ก่อการกบฎ
ยกกองทัพมาตีกรุงเทพฯ โดยปลอมตราพระราชสีห์ ทำทีว่า
ยกทัพมาช่วยรบกับอังกฤษจึงเดินทัพผ่านเมืองต่างๆ ได้โดยง่าย
แต่เมื่อเดินทางมาถึงนครราชสีมา ปรากฏว่า ความแตก
จึงเข้าโจมตีเมืองนครราชสีมาซึ่งขณะนั้นพระยาปลัดเมือง
(พระยาสุริยเดชวิเศษฤทธิ์ทศทิศวิชัย ) ผู้รักษาเมืองไม่อยู่เนื่องจากการไปปราบการจลาจลที่เมืองขุขันธ์
เจ้านุวงศ์จึงตีเมืองได้โดยง่าย และกวาดต้อนพลเมือง
ทั้งชายและหญิง รวมทั้งคุณหญิงโมไปเป็นเชลย ในระว่างเดินทางมาถึงทุ่งสำฤทธิ์
ซึ่งห่างจากตัวเมือง 40 กิโลเมตร คุณหญิงโมได้ออกอุบายให้ชาวบ้านทำทีเป็นเชื่อฟังเพื่อให้เพี้ยรามพิชัยซึ่งเป็นผู้คุมไว้วางใจ
จากนั้นชาวบ้านได้นำอาหารและสุรา เลี้ยงทหาร จนเมามายไม่ได้สติ
เมื่อได้โอกาสจึงพร้อมใจกันจับอาวุธ ฆ่าทหารเวียงจันทร์ตายเป็นจำนวนมาก
เจ้าอนุวงศ์ทราบข่าวจึงส่งทหารเดินเท้าประมาณ 3,200
คน และทหารม้าประมาณ 4,000 คน มาปราบปราม คุณหญิงโมจึงได้จัดกองทัพทั้งชายและหญิงออกตีกองทัพเวียงจันทร์แตก
ขณะเดียวกันเจ้าอนุวงศ์ ทราบข่าวว่ากองทัพจากกรุงเทพฯยกขึ้นมาช่วยจึงต้องถอนกำลังทหารออกจากนครราชสีมา
เมือ่วันที่ 23 มีนาคม 2369วีรกรรมของคุณหญิงโมครั้งนี้เป็นที่ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงทรงพราะกรุณา โปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็นท้าวสุรนารี
ภายหลังคุณหญิงโม ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. 2395
อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดี ผู้สามีได้ณาปนกิจศพ
และสร้างพระเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัด ศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างขึ้น
ต่อมาเจดีย์นั้นได้ชำรุดลง พลตรีพระยาสิงหเสนี ( สะอาด
สิงหเสนี ) เมื่อเป็นพระยาประสิทธิศิลการข้าหลวงเมศาภิบาล
ผู้สำเร็จราชการมณฑลนครราชสีมา องคมนตรีและรัฐมนตรีได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็กบรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ที่วัดกลาง
( วัดพระนารายณ์มหาราช ) ต่อมากู่นั้นทรุดโทรมลงอีก
ทั้งอยู่ในที่ คับแคบไม่งามสง่าสมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ
( ดิศ อิทรโสฬส ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริง
รุกปัจจามิตร( ทอง รักสงบ ) ผู้บังการมณฑลทหาบกที่
5 พร้อมด้วยข้าราชการประชาชนชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้น
พร้อมได้บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่ฐาน เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองนครราชสีมาและบุคคลทั่วไป
เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน ชาวเมืองนครราชสีมาจึงได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลอง
วันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ขึ้นเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่
23 มีนาคม ถึง 3 เมษายน
ประตูชุมพล
ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง เป็นประตูเมืองทางด้านทิศตะวันตกของเมืองนครราชสีมา
สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199 อันป็นปีที่พระองค์สะเด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาลักษณะของประตูเมืองเป็นประตูเชิงเทินก่อด้วยหินก้อนใหญ่
และอิฐฉาบด้วย ปูนทาสีขาว ส่วนบนของประตู เชิงเทินเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้องประดับด้วยช้อฟ้าใบระกาเป็นประตูเมืองเก่าแก่ที่ยังคงเหลืออยู่แห่งเดียว
ซึ่งกรมศิปากรได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานเมื่อ พ.ศ.
2480
โคราชไนท์บาซ่าร์
อยู่กลางเมืองบริเวณสวนหมาก บนถนนมนัสติดกับถนนจอมพลและถนนมหาดไทยมีร้านขายของที่ระะลึกต่างๆ
เสื้อผ้า ผลไม้ พร้อมทั้งอาหารและเครื่องดื่ม เปิดขายทุกวันระหว่างเวลา
18.00 - 22.00 น.
วัดพระนารายณ์มหาราช
ตั้งอยู่บนถนนประจักษ์ ภายในตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาพร้อมกับการสร้างเมืองในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและเคย
เป็นที่ประดิษฐานอัฐิของท้าวสุระนารี มุมวัดด้านถนนจอมพลเป็นที่ตั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
ประดิษฐานหลักเมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวเมืองนครราชสีมา
วัดศาลาลอย
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง ทางเข้าแยกจากถนนรอบเมืองเข้าไปประมาณ
500 เมตร สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่โบสถ์เก่าอายุกว่า
100 ปี และโบสถ์หลังใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2510
เป็นลักษณะศิลปไทยประยุกต์ แปลกจากโบสถ์วัดอื่นๆ โดยสร้างเป็นรูปสำเภาโต้คลื่น
ใช้วัสดุพื้นเมือง คือ กระเบื้องดินเผาด่านเกวียน
ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติปางผจญมารซึ่งหาดูได้ยาก
ผนังด้านหลังเป็นภาพพุทธประวัติปางเสด็รจลงมาจากดาวดึงส์
บานประตูเป็นพระพุทธรูปยืนปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ประทับ
ณ ประตูเมืองลังกัสนคร โดยพนังด้านหลังเป็นเสมือนเงาของพระพุทธองค์
สมเด็จพระสังฆราชถวายพระนามว่า " พระพุทธประพัฒน์สันทรธรรมพิศาล
ศาลาลอยภิบาลวนสันติสุขมุนินทร์ " เมื่อวันพุธ ที่
23 พฤศจิกายน 2520 กำแพงแก้วล้อมรอบอุโบสถเป็นรูปใบเสมา
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม วัดนี้ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนาจากสมาคมสถาปนิกสยาม
ในพระบรมราชูปถัมภ์และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป
ในปี พ.ศ.2516.
วัดปรางค์
ตั้งอยู่ภายในวัดปรางค์ทอง ที่บ้านพุดซา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข
2 ถึงสี่แยกจอหอใช้ทางหลวงหมายเลข 205 ระยะทางประมาณ
5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอขามทะเลสอ (ทางหลวงหมายเลข
2198) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงวัดปรางค์ทองพุดซา องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งเหลือเพียงองค์เดียวเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธจินดาวรวิหาร ตำบลในเมือง
ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัด ตัวอาคารพิพธภัณฑ์เป็นแบบทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียวขนาดเล็ก
ซึ่งกรมศิลปากรจัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาโบราณวัตถุ
และศิปวัตถุที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
เมื่อครั้งที่ชาวนครราชสีมาต้องต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์จนได้รับชัยชนะในที่สุดภายใต้การนำของคุณหญิงโมนั้น
ได้มีสาวน้อยผู้หนึ่งมีนามว่า บุญเหลือ " ได้ร่วมรบในสงครามครั้งนั้น
และได้ยอมพลีชีพของตนเพื่อปกป้องแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนให้รอดพ้นจากการรุกรานของข้าศึก
ซึ่งวีรกรรมที่เธอได้ก่อไว้นั้นเป็นที่ทราบซึ้งแก่ชาวเมืองนครราชสีมาเป็นอย่างยิ่ง
จึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือ
วิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูงห่างจากตัวเมือง 12.5 กิโลเมตรตามเส้นทางหลวงหมายเลข
205 (นครราชสีมา - ชัยภูมิ) และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่
6 กรกฎาคม 2529
ปราสาทหินพนมวัน
ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ ห่างจากตัวจังหวัด
ประมาณ 20 กิโลเมตร การเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางสายมิตรภาพ
(นครราชสีมา ขอนแก่น) ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 14 -
15 มีทางแยกขวามือ มีป้ายบอกทางเข้าวัดหนองบัว ซึ่งเป็นทางลาดยางเข้าไปอีกประมาณ
5 กิโลเมตร ปราสาทหินพนมวันเป็นศาสนสถานแบบขอมมีลักษณะคล้ายปราสาทหินพิมายแต่มีขนาดเล็กกว่าส่วนที่เรียกว่า
" เทวาศรม " หรืออาศรมของเทวะ เป็นชื่อเรียกที่ปรากฎในศิลาจารึกซึ่งพบที่ปราสาทแห่งนี้.
สวนแก้ว
อยู่ทางไปอำเภอปักธงชัย ห่างจากจังหวัดไปประมาณ
10 กิโลเมตร เป็นสถาณที่พักผ่อนหย่อนใจภายในร่มรื่น
สวนสัตว์นครราชสีมา
อยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา ประมาณ 13 กิโลเมตร
บนถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (นครรชสีมา - ปักธงชัย)
ต.ปักธงชัย อ.เมือง เป็นสวนสัตว์แห่งที่ 5 ของประเทศ
ลักษณะเป็นแบบกึ่งเปิดและปิด มีพื้นที่กว้างทั้งสิ้น
545 ไร่ 1 งาน 48 ตารางวา มีสัตว์ป่าหาดูยาก มากมายหลายชนิด
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่แพ้ที่เขาเขียว จ.ชลบรี
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
ตั้งอยู่บริเวณสถาบันราชภัฏนครราชสีมา ถ.สุรนารายณ์
อ.เมือง เป็นสถาณที่รวบรวมภาพและประวัติโบราณสถาน
รูปภาพศิลป ตลอดจนของใช้โบราณและเงินตราต่างๆ ติดต่อสอบถาม
โทร.242158 หรือ 242667
ศาลเจ้าช้างเผือก
ตั้งอยู่ริมคูเมืองทางด้านทิศเหนือ ตรงมุมถนนมนัสตัดกับถนนพลแสนในอำเภอเมือง
เป็นศาลเจ้าสร้างครอบหลักตะเคียนหิน ซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียวนำช้างเผือกมาผูกไว้เพื่อพนักงานกรมคชบาลตรวจดูลักษณะช้าง
ก่อนกราบทูลถวายพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ
วัดศาลาทอง
ตั้งอยู่ที่ ต.หัวทะเล อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว
1 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์เล็กปัจจุบันได้ก่อพระเจดีใหญ่ครอบองค์เดิมไว้
วัดป่าสาละวัน
อยู่หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดที่เก็บพระอัฐิของอาจารย์เสา
อาจารย์มั่น และอาจารย์ทิม ภายในวัดร่มรื่น เย็นสบาย
|