อำเภอโชคชัย
ด่านเกวียน
อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตรตาม ทางหลวงหมายเลข
24 ( นครราชสีมา-โชคชัย-เดชอุดม ) นานมาแล้วตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขาย
ระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอยและได้ทำสืบต่อมาจนปัจจุบันนี้
นับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากเนื่องจากเป็น
แหล่งที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม และมีรูป
แบบที่แปลกแต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีเป็นเครื่องปั้นแบบด่านเกวียนโดยเฉพาะไว้
นักท่องเที่ยวนิยมไปชมวิธีการผลิตและซื้อหาเครื่องปั้นดินเผาขนาดต่าง
ๆ อยู่เสมอ
ปราสาทพะโค
หรือปรางค์พะโคตั้งอยู่ในเขตตำบลกระโทก ห่างจากตัวอำเภอโชคชัยประมาณ
4 กิโลเมตร จากตัวเมืองใช้เส้นทางสาย 224 ตรงไปเข้าเส้นทางสาย
2071 (นครราชสีมา-ด่านเกวียนโชคชัย - เดชอุดม) อยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่
3-4 ริมถนนทางด้านขวามือ รวมระยะทางห่าง จากตัวเมืองนครราชสีมาประมาณ
32 กิโลเมตรปรางค์พะโคเป็นศาสนสถาน ก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาว
ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบ เป็นรูปเกือกม้า
ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ได้ค้นพบชิ้นส่วนหน้าบัน
ประตูหลอกที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแบบบาปวน ในราวพุทธศตวรรษที่
16 ซึ่งมีผลต่อการสร้างศาสนสถานแห่งนี้
|