earth (เอิธ) n. vt.
1. ธาต์ดิน, ต่อกับดิน, สายดิน, ฝังดิน
2. โลก, พื้นพสุธา, ปถพี
เครื่องปั้นดินเผา
เครื่องปั้นดินเผาของไทยมีหลักฐานปรากฎตั้งแต่ยุคก่อนประวัติ
ศาสตร์และทำกันทั่วไปทุกภูมิภาค ในปัจจุบันเป็นทั้งงานหัตถกรรม
พื้นบ้านเพื่อใช้สอยประจำวันเป็นอุตสาหกรรมดินเผาและเป็นของที่
ระลึก
เครื่องดินเผาในประเทศไทย ได้มีวิวัฒนาการมา เช่น เดียวกับศิลปกรรมแขนงอื่น กล่าวคือ
เริ่มต้นจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหม้อดินเผาเป็นแห่งแรกที่บ้านเชียง
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีอายุประมาณ 6,000 ปี
ต่อมาคือ สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน
และสมัยสุโขทัย ซึ่งมีการทำถ้วยชามที่เคลือบสีเขียวแบบหยก
หรือเขียว ไข่กา เรียกว่าเครื่องสังคโลก มีคุณลักษณะคือรูปทรงภายนอกงดงามมาก
นอกจากนี้แล้วยังมีการทำหม้อไห และเครื่องประกอบงานสถาปัตยกรรม
เตาที่ใช้เผาเรียกว่า "เตาทุเรียง" ต่อจากนี้ก็ถึงสมัยอู่ทอง
สมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องดินเผาที่ควรจะกล่าวถึง คือ
เครื่องเบญจรงค์และลายน้ำทอง ซึ่งมีหลายสี เกิดจากการประดับตกแต่งเป็นเครื่องถ้วยที่สั่งทำจากประเทศจีน
แต่ลวดลายและสีเป็นฝีมือเขียนของช่างไทย และสมัยสุดท้ายคือ
สมัยรัตนโกสินทร์ (สมัยกรุเทพฯ) ซึ่งมีวิวัฒนาการสืบต่อมาจากสมัยอยุธยา
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453) นับเป็นยุคสุดท้ายของเครื่องเบญจรงค์และลายน้ำทอง
เพราะต่อจากนี้เป็นสมัยที่นิยมเครื่องดินเผาจากยุโรป
จีนและญี่ปุ่น ในสมัยนี้มีการเขียนสีและเขียนลายไทยทับบนเครื่องลายครามจีนด้วย
ประวัติความเป็นมา | ชนิดเครื่องปั้น | ประมวลรูปภาพ | เครื่องมือการผลิต | วิธีการผลิต
|